สถานการณ์ HIV ในไนจีเรีย
ผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องตรวจพบในประเทศไนจีเรียเมื่อปี 1985 รัฐบาลไนจีเรียได้รายงานให้ที่ประชุมโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องระหว่างประเทศทราบ ต่อมาในปี 1987 กระทรวงสาธารณสุขได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการที่ปรึกษาโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องแห่งชาติขึ้น โดยไม่ช้าหลังจากนั้นก็ได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการที่ปรึกษาชำนาญการโรค๓มิคุ้มกันบกพร่องแห่งชาติ
เมื่อประธานาธิบดีโอลูเซกุน โอบาซันโจได้รับเลือกตั้งขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ไนจีเรียเมื่อปี 1999 ปัญหาการป้องกัน การรักษาและการพยาบาลผู้ป่วยเป็นปัญหาระดับชาติ ประธานาธิบดีจึงตั้ง กรรมาธิการโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง และกรรมาธิการปฏิบัติการโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องห่งชาติ และต่อมาเมื่อปี 2001 ได้ประกาศแผนปฏิบัติการณ์ฉุกเฉินสามปีสำหรับโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องโดยในปีเดียวกันนั้นเองประธานาธิบดีโอบาซันโจได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดครั้งแรกขององค์การเอกภาพแอฟริกันว่าด้วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง วัณโรค และโรคติดเชื้ออื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ปี 2005 รัฐบาลได้ประกาศใช้แผนยุทธศาสตร์ระยะห้าปีในการต่อสู้โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
แม้ว่ารัฐบาลจะเพิ่มความพยายามในการควบคุมโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง แต่จนกระทั่งปี 2006 มีผู้ป่วยได้รับการรักษาเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น โดยจำแนกเป็นสตรีมีครรภ์เพียงร้อยละ 7 ที่ได้รับการรักษาพยาบาลเพื่อลดความเสี่ยงที่โรคจะถ่ายทอดจากมารดาสู่ทารก
ปี 2010 คณะกรรมาธิการปฏิบัติการฯ ประกาศใช้แผนยุทธศาสตร์ห้าปี ฉบับที่สอง ปี 2010 – 2015 โดยกำหนดจะใช้งบประมาณดำเนินการประมาณ 756 พันล้านไนร่า(ประมาณ 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยตั้งเป้าหมายว่าเมื่อบรรลุระยะเวลา 5 ปีจะสามารถให้บริการให้คำปรึกษาและตรวจทราบผลเลือดแต่ประชากรกลุ่มที่อยู่ในภาวะมีเพศสัมพันธ์ ร้อยละ 80 และแก่ประชากรกลุ่มเสี่ยงร้อยละ 85
แม้ว่าไนจีเรียจะเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันใหญ่ที่สุดในทวีปแอฟริกา และเป็นอันดับที่ 12 ของโลก แต่ไนจีเรียกลับเป็นประเทศที่ติดอันดับดรรชนีความยากจนของสำนักงานโครงการพัฒนาสหประชาชาติ (UNDP เป็นอันดับที่ 156 จากจำนวนทั้งหมด 187 ประเทศ และจากการที่การพัฒนาประเทศยังอยู่ในสภาพย่ำแย่ย่อมหมายความว่าไนจีเรียกำลังมีปัญหาใหญ่หลวงในการต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องภายในประเทศ
ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องในประเทศไนจีเรียประมาณ ร้อยละ 3.6 หรือ 3.3 ล้านคน
(ผู้สนใจสามารถสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ http://www.avert.org/aids-nigeria.htm )
เครดิตภาพ : เว็บไซต์ http://www.worldbank.org/en/country/nigeria
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น