มาตรการกำกัดการนำเข้า( Import Restriction) ข้าวจากต่างประเทศ
เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่ารัฐบาลไนจีเรียมีนโยบายส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตข้าวภายในประเทศ ดังนั้นจึงได้ออกมาตรการหลายประการเพื่อกำกัดการนำเข้า( Import Restriction) ข้าวจากต่างประเทศ ได้แก่
มาตรการภาษี : ปัจจุบันไนจีเรียกำหนดภาษีนำเข้าเมล็ดพันธ์ ต้นกล้า และเมล็ดข้าวที่ยังไม่ได้สีในอัตราร้อยละ 5 เพื่อส่งเสริมให้มีการลงทุนตั้งโรงสีข้าวภายในประเทศ หรือปลูกข้าวภายในประเทศ ในขณะที่กำหนดภาษีนำเข้าข้าวขาวในอัตราร้อยละ 110
มาตรการกำหนดราคากลาง: รัฐบาลไนจีเรียจะกำหนดราคากลาง (benchmark price)สำหรับข้าวชนิดต่างที่นำเข้าจากแหล่งต่างๆทั่วโลกเป็นระยะ โดยปัจจุบันราคากลางอยู่ที่ 690 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน โดยภาษีนำเข้าจะคำนวณจากราคากลางนี้โดยไม่สนใจต่อราคา FOB ที่แท้จริง องค์กรที่เสนอแนะให้รัฐบาลใช้ราคากลาง ที่กำหนดนี้ประกอบด้วย คณะกรรมการว่าด้วยการค้าที่ไม่ชอบธรรมของประธานาธิบดี/ กระทรวงเกษตร กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง ผู้ประกอบการโรงสี ผู้นำเข้า และผู้ค้าส่ง ราคากลางนี้จะรวมค่าขนส่งเข้าไว้ด้วย
มาตรการกำหนดสถานที่นำเข้า: ไนจีเรียห้าม การนำเข้าข้าวผ่านชายแดน แต่อนุญาตให้นำเข้าผ่านท่าเรือเท่านั้น โดยรัฐบาลไนจีเรียอ้างว่ามาตรการดังกล่าวเพื่อเป็นการลดการได้เปรียบเสียเปรียบจากการที่ผู้นำเข้าทางบกหลีกเลี่ยงการเเสียถาษี
มาตรการภาษี : ปัจจุบันไนจีเรียกำหนดภาษีนำเข้าเมล็ดพันธ์ ต้นกล้า และเมล็ดข้าวที่ยังไม่ได้สีในอัตราร้อยละ 5 เพื่อส่งเสริมให้มีการลงทุนตั้งโรงสีข้าวภายในประเทศ หรือปลูกข้าวภายในประเทศ ในขณะที่กำหนดภาษีนำเข้าข้าวขาวในอัตราร้อยละ 110
มาตรการกำหนดราคากลาง: รัฐบาลไนจีเรียจะกำหนดราคากลาง (benchmark price)สำหรับข้าวชนิดต่างที่นำเข้าจากแหล่งต่างๆทั่วโลกเป็นระยะ โดยปัจจุบันราคากลางอยู่ที่ 690 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน โดยภาษีนำเข้าจะคำนวณจากราคากลางนี้โดยไม่สนใจต่อราคา FOB ที่แท้จริง องค์กรที่เสนอแนะให้รัฐบาลใช้ราคากลาง ที่กำหนดนี้ประกอบด้วย คณะกรรมการว่าด้วยการค้าที่ไม่ชอบธรรมของประธานาธิบดี/ กระทรวงเกษตร กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง ผู้ประกอบการโรงสี ผู้นำเข้า และผู้ค้าส่ง ราคากลางนี้จะรวมค่าขนส่งเข้าไว้ด้วย
มาตรการกำหนดสถานที่นำเข้า: ไนจีเรียห้าม การนำเข้าข้าวผ่านชายแดน แต่อนุญาตให้นำเข้าผ่านท่าเรือเท่านั้น โดยรัฐบาลไนจีเรียอ้างว่ามาตรการดังกล่าวเพื่อเป็นการลดการได้เปรียบเสียเปรียบจากการที่ผู้นำเข้าทางบกหลีกเลี่ยงการเเสียถาษี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น