วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2556

คนรวยที่สุดในไนจีเรีย



คนรวยที่สุดในไนจีเรีย


นายอัลฮาจิ อาลิโคเต้ ดังโกเต้ นักธุรกิจไนจีเรียเจ้าของ ดังโกเต้ กรุ๊ป เป็นบุคคลที่นิตยสารฟอร์บลงพิมพ์ชื่อระบุว่าเป็นคนรวยที่สุดในไนจีเรีย โดยเมื่อปี 2554 มีสินทรัพย์ 13.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ประวัติ
เกิด                      10 เมษายน 2500
สถานที่เกิด              รัฐบอร์โน
การทำงาน               CEO กลุ่มดังโกเต้  กรุ๊ป
ประวัติการประกอบธุรกิจ
2520            เริ่มธุรกิจค้าขายวัสดุก่อสร้างในรัฐบอร์โนด้วยเงินทุนจากครอบครัว
มิ.ย. 2520          ย้ายมาประกอบธุรกิจในเมืองลากอส (เมืองหลวงและศูนย์กลางการค้าขณะนั้น)โดยทำธุรกิจค้าขายปูนซีเมนต์
2524            ขยายธุรกิจตั้งบริษัทเพิ่มขึ้นเป็นสองบริษัทซึ่งต่อมาจะจัดตั้งบริษัทเพิ่มอีกหลายบริษัทภายใต้ชื่อ ดังโกเต้ กรุ๊ป ประกอบด้วยธุรกิจ ซีเมนต์ น้ำตาล เกลือ แป้ง ข้าว สปาเก็ตตี้ ผ้าผืน ฯลฯ
2551            นิตยสารฟอร์บ จัดให้นายดังโกเต้เป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในไนจีเรียมีทรัพย์สินมูลค่า 3.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
2554            นิตยสารฟอร์บจัดให้เป็นชาวไนจีเรีย(และเป็นชาวแอฟริกัน)ที่มั่งคั่งที่สุด มีทรัพย์สินมูลค่า 13.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ธุรกิจเทรดดิ้ง(นำเข้าและส่งออกสินค้า)ของดังเต้กรุ๊ป
-          น้ำตาลทราย: นำเข้าน้ำตาลทราบปีละประมาณ 400,000 ตัน คิดเป็นร้อยละ 70 ของปริมาณการบริโภครวม นอกจากนั้นยังเป็นผู้ค้ารายใหญ่ที่ส่งน้ำตาลให้แก่โรงงานของบริษัทผู้ผลิตโคคา-โคลา เป๊บซี่โคลา และเซเว่นอัพ
-          ข้าว: นำเข้าข้าวจากต่างประเทศปีลพประมาณ 200,000 ตัน
-          อาหารทะเล: มีเรือประมงขนาด 5 พันตันจำนวน 3 ลำ
-          ซีเมนต์ ปุ๋ย วัสดุก่อสร้าง
-          ดังโกเต้ กรุ๊ป ส่งออก ฝ้าย โกโก้ เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ และยาง

ธุรกิจอุตสาหกรรม
-          เท็กไทล์ : โรงงานดังโกเต้ เท็กไทล์และไนจีเรีย เท็กซไทล์ มิลล์ ผลิตผ้าผืนวันละ 120,000 เมตร
-          ฝ้าย: โรงงานปั่นฝ้ายในรัฐคัตสินาปั่นฝ้ายปีละ 30,000 ตัน
-          น้ำตาล: โรงงานน้ำตาลที่เมืองอาปาปา พอร์ต รัฐลากอส ผลิตน้ำตาลปีละ 7 แสนตัน โรงงานฟอกขาวน้ำตาลที่เมืองฮาเดจา รัฐจิกาวา ผลิตน้ำตาลปีละ 100,000 ตัน
-          เกลือ: ถือหุ้นในบริษัทผลิตเกลือแห่งชาติที่เมืองโอตา รัฐโอกุน และมีโรงงานผลิตเกลือที่เมืองอาปาปา และคาลาบาร์
พนักงาน
-          ปัจจุบันกลุ่มดังโกเต้ กรุ๊ป มีคนงานจำนวน 12,000 คน

วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2556

รัฐบาลไนจีเรียแจกโทรศัพท์มือถือเกษตรกร



รัฐบาลไนจีเรียแจกโทรศัพท์มือถือเกษตรกร

ในปี 2556 นี้รัฐบาลไนจีเรียจะเริ่มแจกโทรศัพท์มือถือจำนวน 10 ล้านเครื่องให้แก่เกษตรกรตามนโยบายส่งเสริมให้ให้นำระบบ Electronic Wallet เข้ามาใช้ในการผลิตภาคเกษตรกรรม

การแจกโทรศัพท์มือถือมีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกแก่เกษตรกรในการติดต่อประสานข้อมูลกับกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดต่อโดยตรงระหว่างเจ้าหน้าที่กับเกษตรกรเพื่อให้เข้ามารับแจกปุ๋ย การกระจายข่าวสารเกี่ยวกับฤดูการผลิตพืชไร่  ราคาของสินค้า และปริมาณสินค้าในท้องตลาด ฯลฯ

โครงการดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรฯ และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยกระทรวงเกษตรจะเป็นผู้ชี้เป้าหมายพื้นที่ซึ่งมีการแจกจ่ายโทรศัพท์มือถือ ขณะที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศจะเป็นผู้ประสานกับผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือเพื่อเข้าไปจัดวางเครือข่ายโทรคมนาคมในพื้นที่ชนบทเป้าหมาย

โครงการนำอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือมาใช้เพื่อส่งเสริมการผลิตในภาคเกษตรกรรมเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายปฏิรูปการเกษตรของรัฐบาลปัจจุบัน โดยรัฐบาลมีนโยบายต้องการชักนำเกษตรกรให้เข้ามามีส่วนร่วมกับโครงการต่างๆของรัฐบาลและติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของทางการโดยตรง  โดยเชื่อว่าจะแก้ไขปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นในการแจกจ่ายปุ๋ยให้แก่เกษตรกร และเกษตรกรทุกครัวเรือนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารการตลาดได้โดยตรง

กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเปิดเผยว่ารัฐบาลจัดสรรงบประมาณจำนวน 60 พันล้านไนร่าเพื่อซื้อโทรศัพท์มือถือจากบริษัทผู้ผลิตโดยตรง และคาดว่าในปลายไตรมาสแรกของปีนี้จะสามารถส่งมอบโทรศัพท์มือถือให้แก่เกษตรกรได้ตามนโยบาย

ชีวิตต้องสู้


ชีวิตต้องสู้

สำนักงานสถิติแห่งชาติเปิดเผยว่า ไนจีเรียมีอัตราการว่างงานประมาณร้อยละ 23.9 เมื่อปี 2554 เปรียบเทียบกับร้อยละ 21.1 เมื่อปี 2553 และร้อยละ 19.7 เมื่อปี 2552 เห็นได้ว่าอัตราการว่างงานในประเทศไนจีเรียเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

สถิติปี 2554 ยังระบุด้วยว่าอัตราการว่างงานในชนบทสูงกว่าในเมืองใหญ่ โดยอัตราการว่างงานในชนบทคิดเป็นร้อยละ 25.6 ในขณะที่อัตราการว่างงานในเมืองเป็นร้อยละ 17.1 และเมื่อจำแนกตามระดับอายุแล้วแรงงานอายุระหว่าง 0-14 ปีมีสัดส่วนร้อยละ 39.6 อายุระหว่าง 15-64 มีสัดส่วนร้อยละ 56.3 และแรงงานอายเกิน 64 ปีขึ้นไปมีสัดส่วนร้อยละ 4.2 ของจำนวนแรงงานที่ว่างงานทั้งหมด

อันที่จริงการว่างงานในทวีปแอฟริกานั้นไม่ได้มีเพียงไนจัเรียประเทศเดียวที่มีอัตราสูง ประเทศแอฟริกาใต้ซึ่งมีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจสูงกว่าไนจีเรียมีอัตราการว่างงานสูงถึงร้อยละ 25 เช่นเดียวกับประเทศแองโกลาก็ร้อยละ 25 บอตสวาน่ร้อยละ 17.5 อียิปต์ร้อยละ 11.8 เคนยาร้อยละ 11.7 และนามิเบียร้อยละ 51

วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556

ท้องฟ้าที่อาบูจา


ท้องฟ้าที่อาบูจา

ช่วงนี้เป็นฤดูแล้ง อากาศเย็นตอนเช้าและค่ำ  ท้องฟ้าของกรุงอาบูจาในช่วงนี้ไม่เหมือนในช่วงฤดูฝนที่ฟ้าเป็นสีครามสวยใส ภาพนี้ถ่ายตอนสี่โมงเย็น สุดสายตามองไม่เห็นอะไร หรือแม้แต่ตะวันก็มองไม่เห็นเป็นดวงกลมชัด ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากท้องฟ้าในช่วงฤดูนี้ปกคลุมด้วยฝุ่นจากทะเลทรายซาฮารา

ฝุ่นละเอียดเหล่านี้เล็ดรอดเข้ามาในห้องให้ต้องหมั่นปัดกวาดเช็ดถู

ชีวิตคนทำงานในเมืองใหญ่


ชีวิตคนทำงานในเมืองใหญ่

มีคนนิยามเส้นทางรถไฟว่าเป็นเส้นเลือดใหญ่ของบ้านเมือง ที่ไนจีเรียเส้นทางรถไฟช่วยให้การเดินทางของชาวเมืองที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่สะดวกและประหยัด ที่เมืองลากอส ศูนย์กลางการค้าและการศึกษาของไนจีเรียชาวเมืองต้องอาศัยรถไฟไปทำงานและเดินทางกลับบ้านเช่นกัน

หนังสือพิมพ์ เดอะ การ์เดียน ฉบับวันที่ 4 มกราคม 2556 ลงพิมพ์ภาพนี้ในหน้าแรก ภาพเดียวบอกวิถีชีวิตประจำวันได้ชัดเจน

งบประมาณกระทรวงกิจการตำรวจไนจีเรีย


งบประมาณกระทรวงกิจการตำรวจไนจีเรีย


ในปีงบประมาณ 2556 กระทรวงกิจการตำรวจไนจีเรียได้รับงบประมาณสนับสนุนการปฏิบัติงานรวม 2.8 พันล้านไนร่า โดยงบประมาณส่วนใหญ่เป็นการเสริมโครงการเดิมเมื่อปี 2555 ให้สมบูรณ์ และจัดซื้อจัดหาอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยเน้นโครงการรับมือการก่อการร้ายภายในประเทศอาทิ การฝึกอบรมบุคลากร และการจัดตั้งหน่วยกู้ระเบิดในรัฐเป้าหมาย 10 รัฐ ได้แก่ รัฐอาเบีย บาอูชี กอมเบ จิกาวา เคบบี ลากอส นาซาราวา ไนเจอร์ ทาราบา และซัมฟารา